ข้อเท็จจริงในการ” พัฒนาสูตร “แบรนด์สกินแคร์ ยิ่งเยอะ ยิ่งดี จริงหรือ?

พัฒนาสูตร
ผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาสูตรด้วยสารสกัดจำนวนมาก ในปริมาณที่เข้มข้นนั้น จะมีความปลอดภัยและตอบโจทย์กับปัญหาผิวได้อย่างครอบคลุมจริงหรือไม่ วันนี้จึงขอนำเสนอบทความเพื่อให้ท่านที่กำลังสนใจพัฒนาสูตรสกินแคร์ให้ได้รู้และเข้าใจมากขึ้น

“สกินแคร์” ผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีสัดส่วนเป็นอันดับต้น ๆ ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของประเทศ การบุกตลาดสกินแคร์ด้วยสูตรของผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้แบรนด์สามารถแข่งขันได้ในตลาด โดยสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อซ้ำหลังจากซื้อครั้งแรก สูตรของผลิตภัณฑ์จึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าหากสูตรของสกินแคร์ใช้แล้วเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน ปลอดภัย และมีเอกสารรับรองตามหลักมาตรฐานสากล ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์นั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น แบรนด์ต่างๆจึงเริ่มมาไกลมาก เช่นในเรื่องของส่วนผสมที่ค้นคว้าและพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมันคือจุดเด่น จุดขาย ที่ทำให้สกินแคร์กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น และหนึ่งจุดประสงค์ของการ พัฒนาสูตร นั้นก็คือการเห็นผลค่อนข้างไว

แต่ผลิตภัณฑ์หนึ่งตัวที่อุดมไปด้วยความหลากหลายของสารสกัดในปริมาณที่เข้มข้นนั้น จะมีความปลอดภัยและตอบโจทย์กับปัญหาผิวได้อย่างครอบคลุมจริงหรือไม่ วันนี้จึงขอนำเสนออีกหนึ่งมุมมองสำหรับใครที่สนใจจะพัฒนาสูตรเครื่องสำอางให้ได้รู้และเข้าใจมากขึ้นกันค่ะ

สูตรสกินแคร์ที่ดี ควรมีสารสกัดที่ช่วยเสริมฤทธิ์การทำงาน

สำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ จะมีคุณสมบัติและสรรพคุณฟื้นบำรุงผิวได้อย่างแท้จริงนั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ ส่วนผสมการออกฤทธิ์ (Bioactive ingredients or pharmaceuticals) และสภาพผิวของแต่ละบุคคลที่ตอบสนองต่อสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน ทำให้เป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนใช้แล้วดี แต่บางคนก็ใช้แล้วไม่เห็นผล ท้ายที่สุดผู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ จะต้องมีการทดสอบผลลัพธ์ก่อนวางจำหน่ายสินค้า วัดคุณภาพว่าเหมาะกับสภาพผิวของผู้ใช้โดยรวมหรือไม่ รวมถึงการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและอยู่ในกระบวนการการผลิตที่ทันสมัย ตลอดจนการคัดสรรสารสกัดที่เข้มข้น มีงานวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพแท้จริง (Bioactive Ingredients) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหัวใจสำคัญของการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และที่สำคัญตามมาก็คือ ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนหลังใช้ผลิตภัณฑ์ด้วย นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ยังมีความซับซ้อนและต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาสูตรของส่วนผสมที่แม่นยำ เพื่อคงสภาพการออกฤทธิ์ต่อผิวทันทีหลังใช้งาน 

Biochemistry laboratory

เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้ากระจ่างใส .. ปกติแล้วจะต้องเข้าใจถึงกลไกการทำงานของผิว หลังจากได้รับสารสกัดต่างๆเสียก่อน เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินนั้นก็คือ 1 ในกลไกที่จะทำให้ผิวกระจ่างใส แต่ก็ยังไม่ใช่กลไกทั้งหมดเลยสะทีเดียวที่ทำให้ผิวกระจ่างใส .. เรามาทำความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานของผิว ประกอบกับการทำงานของสารสกัดออกฤทธิ์ในหน้าที่นั้นๆกัน

เราควรจะเริ่มต้นจากการปกป้องโครงสร้างผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต เพราะในกลุ่มรังสีเหล่านี้ ไม่ว่าจะ UVA UVB ก็จะเป็นตัวที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิวขึ้นมาได้ ทำให้ผิวแดง หมองคล้ำ สารสกัดที่ออกฤทธิ์ในเรื่องของการสะท้อนรังสี ปกป้องยูวีต่างๆ จึงสำคัญเป็นลำดับต้นๆ จากนั้นเมื่อผิวได้รับสารสกัดที่มีฤทธิ์ในเรื่องของการยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวเข้าไปแล้ว ผิวจะเกิดกระบวนการหยุด หรือตัดตอนปฏิกิริยาการสร้างสารต่างๆที่จะกลายมาเป็นยูเมลานินหรือฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยหมองคล้ำต่างๆนั่นเอง และถึงแม้จะมีสารที่จะช่วยในการยับยั้งกระบวนนี้แล้วก็ตาม ก็ใช่ว่าการยับยั้งจะสมบูรณ์ 100% ดังนั้น สารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งการขนส่งเม็ดสีขึ้นไปยังเซลล์ผิวก็สำคัญไม่แพ้กัน และท้ายที่สุด สารสกัดที่ออกฤทธิ์ช่วยในเรื่องผลัดเซลล์ผิวก็จะช่วยผลักเซลล์ผิวที่ตาย หมองคล้ำ อ่อนแอ ออกไป เพื่อกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวแข็งแรงขึ้นมาใหม่ ผิวจึงกระจ่างใส

ฉะนั้นสารสกัดออกฤทธ์ที่มีการใส่ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวส่วนใหญ่ จะมีปริมาณแนะนำการใช้งานในสูตรที่ผ่านการทดสอบจากทางผู้ผลิตและการวิจัยทดสอบความปลอดภัยขณะใช้งาน เพื่อให้ทางทีมนักวิจัยนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงโจทย์กับลูกค้า

สกินแคร์ ควรออกแบบสูตรให้เหมาะสมกับผลลัพธ์นั้นๆ สารออกฤทธิ์บางสารจะมีปริมาณกำหนดการใช้งานอย่างชัดเจนตามประสิทธิภาพที่ต้องการเห็นผล เพราะหากมีการใช้งานเกินที่ทางผู้ผลิตแนะนำ อาจจะไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เห็นผลหรือออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ทั้งยังเป็นการทำให้ต้นทุนของสินค้าเพิ่มขึ้นไป ใช้แล้วผิวเกิดการระคายเคือง ไม่ได้ประสิทธิภาพตามที่ต้องการไปแทน แต่สำหรับสารสกัดบางรายการ ก็ไม่ได้ระบุปริมาณการใช้งานที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทางนักวิจัยว่าต้องการใส่ในปริมาณที่เท่าไร ซึ่งขอยกตัวอย่างสารสกัดออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้    

ปริมาณการใช้กลุ่มสารสกัดออกฤทธิ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มสารสกัดออกฤทธิ์ที่ระบุปริมาณการใช้งานในสูตร เช่น

  • Alpha Arbutin : ทำหน้าที่ปรับให้ผิวกระจ่างใส และสีโทนเดียวกัน โดยเหมาะสำหรับผิวทุกประเภท
    • อัตราการใช้ : 0.2-2% (แนะนำ 2% สำหรับ whitening ให้ผิวกระจ่างใส ห้ามใช้เกิน 2.00%)
  • Tea Tree Oil : ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียผิวหนัง เหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหาเรื่องสิว
    • อัตราการใช้ : 0.1-1% สำหรับผิวกาย และ ไม่เกิน 0.5% สำหรับผิวหน้า
  • Ascorbyl Glucoside : ทำหน้าให้ผิวกระจ่างใส ต้านลดอนุมูลอิสระ กระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนของผิว
    • อัตราการใช้ : 2-10%
  • Azelaic Acid : ทำหน้าที่ให้ผิวกระจ่างใส รอยดำ ลดความมันบนผิว ควบคุมการสร้างน้ำมันของรูขุมขน ลดสิวอุดตัน
    • อัตราการใช้ : 5-10% (แนะนำ 10% สำหรับ whitening ให้ผิวกระจ่างใส รักษาฝ้า และลดความมันบนใบหน้า)
  • Niacinamide : ทำหน้าที่ลดริ้วรอย ลดรอยแดง/ดำ เพิ่มความชุ่มชื้น ด้วยการกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจน และเซราไมด์
    • อัตราการใช้ : 1-10% (แนะนำ 5%, ชนิด Safe-B3 สามารถใช้ได้สูงสุด 10% โดยไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองผิว)

2. กลุ่มสารสกัดออกฤทธิ์ที่ไม่ระบุปริมาณการใช้งานในสูตร เช่น

  • Galactomyces Ferment Filtrate : ทำหน้าที่บำรุงและฟื้นฟูสภาพผิว ให้เนียนนุ่ม และให้ความชุ่มชื้น
    – อัตราการใช้ : 1-100%
  • Argan Oil : ทำหน้าที่บำรุงและฟื้นฟูผิวที่แห้งกร้าน ช่วยลดริ้วรอย เหี่ยวย่น บริเวณใต้ตา ลดการเกิดสิว กระตุ้นการผลัดเซลล์
    – อัตราการใช้ : 1-100%
  • Evening Primrose Oil : ทำหน้าที่ให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม ชุ่มชื้น ลดอาการผิวแห้ง คัน
    – อัตราการใช้ : 1-100%

การ พัฒนาสูตร โดยการใส่สารออกฤทธิ์กลุ่มนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่ต้องการ การใช้ในปริมาณสูง อาจทำให้รู้สึก มัน/เหนอะ หรือมีผลกับเนื้อผลิตภัณฑ์นอกจากอัตราการใช้งาน ข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้สารสกัดออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องระวัง เพื่อให้สารสกัดทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ จะมีปัจจัยอะไรบ้างไปดูกันเลย

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของสารสกัดในสูตร

  • ค่า pH

หากสูตรมีค่า pH ไม่สมดุลต่อสารสกัดที่ใช้ในสูตร จะทำให้ประสิทธิภาพของสารสกัดไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ อาจะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับสารอื่นๆในสูตร ส่งผลให้เกิดความไม่เข้ากันในสูตรและทำให้สูตรเกิดความไม่คงตัว

  • ตัวทำละลายในสูตร

สารสกัดแต่ละชนิดจะมีข้อแนะนำว่าควรใส่ลงในส่วนน้ำ หรือออย ต้องทำละลาย หรือกระจายตัวในสารกลุ่มใด หรือต้องใส่ก่อน/หลังทำอิมัลชั่น หากใช้ตัวทำละลายที่ไม่เหมาะสมกับสารสกัด ก็จะส่งผลให้สารสกัดไม่เกิดการละลายและออกฤทธิ์ไม่ได้เต็มที่

  • อุณหภูมิ

สารสกัดส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใส่หลังจากการผสมสูตรจนเกิดอิมัลชั่นที่สมบูรณ์ โดยอุณหภูมิไม่ควรเกิน 45 °C เพื่อไม่ทำให้องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดโดนทำลายจากความร้อน แต่ยังมีสารสกัดบางตัวที่เป็นกลุ่มออย หรืออิมัลชั่น จะนิยมใส่ในส่วนออยและต้องให้ความร้อนก่อนการทำอิมัลชั่น

  • บรรจุภัณฑ์

ถึงจะเป็นองค์ประกอบภายนอก แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความคงตัวของสูตรและประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ เช่นสารกลุ่มกันแดด หากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นรูปแบบหลอด ควรใช้หลอดที่มีความหนา 5 ชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้สารกันแดดในสูตรทำปฏิกิริยากับหลอด จนทำให้ประสิทธิภาพในการกันแดดลดลง

นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่นำมาสรุปให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสูตรสกินแคร์ ต้องบอกก่อนว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจส่งผลกับประสิทธิภาพของสารสกัดซึ่งขึ้นอยู่กับหน้างานการทำสูตรและกระบวนการผลิต แต่ถ้าหากเรามีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นแล้ว ก็จะสามารถช่วยควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่ายของสูตร และสามารถออกแบบสูตรที่มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ให้กับแบรนด์ได้ อีกทั้ง ยังช่วยให้สามารถคัดสรรสารสกัดที่จะมาชูโรงของสินค้าของตัวเองให้โดดเด่นเป้นเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำแบบใคร อีกด้วย .. หากมีความสนใจเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ และต้องการพัฒนาสูตร สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา


ข้อมูลอ้างอิง

http://www.tibdglobal.com

เราคือผู้เชี่ยวชาญ

วิจัยและพัฒนาสูตร
ตามความต้องการ

เราคือที่ปรึกษา

ให้คุณพร้อมสร้างแบรนด์
ด้วยบริการที่ครบวงจร
Share:
Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin
รับคำปรึกษาฟรี
เริ่มต้นสร้าง
แบรนด์กับเรา
เพิ่มเพื่อน

Connect us

Most Popular

บทความล่าสุด

บทความที่คุณอาจสนใจ

ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม อีก 1 ITEM ที่น่าสร้างแบรนด์

กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เป็นอีกหนึ่งสินค้า ที่เจ้าของแบรนด์ให้ความสนใจผลิตเพื่อออกมาตอบโจทย์การดูแลรักษาเส้นผมและหนังศีรษะ

Read More »